1) "Chill Chill" to learn how to paddle. Kayak .. Introduction. The
upstream distance not more than 5.0 km, the fee is 200 Baht / person
(only 100 Baht/person for student rate) takes about 1-2 hours.
2)
"Explorer" explore nature, sight seeing Lumtakong water birds and the
TaKong (iguana in Thailand: Animal Protection and Hunting possession),
named of
a waterway ".. Lumtakong". The fee is 650 Baht/person,
downriver cruise through the 4-5 whitewater then take all Kayaks into a
small minibus, called "Song Taew". Riding back to Kao Yai - Lumtakong
Hotel takes approximately 2 hours.
3) "Adventure" to
appreciate the natural beauty of plants and animals through whitewater
rafting skills with F1 - F3 over a distance of 10 km to a destination
restaurant named "Baan Mai Chay Nam". (Or other restaurants like Mori
... which can be changed). The fee is 750 Baht/person then having lunch
(not included in package) ..taking a nice shot with Special Collection
in Baan Mai Chay Nam Museum.... Then transported Kayak into the minibus,
riding back to Kao Yai - Lumtakong Hotel . It takes approximately 3-5
hours.
* Special ... for the hotel guest,-can enjoy the 4th Package..
4)
"Happy Night and Kayaking" room accommodation for one night and
breakfast for two, you can choose the 2nd or 3rd Trip with special offer
3,000 and 3,150 Baht/2 persons only (the right to change the price of
the 4th Package, in case of any increasing cost of accommodation by the
hotel).
Korat Kayak Club
วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557
รูปแบบทริปและรายการส่งเสริมการขายพายเรือคายัค เขาใหญ่ ลำตะคอง
1) "Chill Chill" เรียนรู้วิธีการพายเรือคายัคเบื้องต้น ขึ้นต้นน้ำระยะทางไปกลับไม่เกิน 5.0 ก.ม. อัตราค่าบริการ 200 บาท/คน (นักเรียน นักศึกษาเหลือเพียง 100 บาท) ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
2) "Explorer" สำรวจธรรมชาติ สองฝั่งลำตะคอง ดูนก ไม้น้ำ และตะกอง (อีกัวน่าเมืองไทย: สัตว์คุ้มครอง ห้ามล่า และมีไว้ในครอบครอง) ที่มาของชื่อลำน้ำสายนี้ "..ลำตะคอง" อัตราค่าบริการ 650 บาท/คน ล่องตามน้ำผ่านแก่งเล็กๆ 4-5 แก่ง จากนั้นลำเลียงเรือขึ้นรถสองแถว และนั่งรถกลับที่โรงแรมเขาใหญ่-ลำตะคอง ใช้ระยะเวลารวมประมาณ 2 ชั่วโมง
3) "Adventure" ชื่นชมความงดงามของธรรมชาติ พืช และสัตว์ ฝึกทักษะการล่องผ่านแก่งระดับ F1 - F3 เป็นระยะทางกว่า 10 ก.ม. ไปยังจุดหมายปลายทางที่ร้านอาหาร ...บ้านไม้ริมน้ำ (หรือร้านอื่นๆ เช่น โมริ ...ริมธารเขาใหญ่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้) อัตราค่าบริการ 750 บาท/คน พักรับประทานอาหารกลางวัน (ไม่รวมใน package) ถ่ายรูปคู่กับของสะสม Collection พิเศษต่างๆภายในร้าน จากนั้นลำเลียงเรือขึ้นรถสองแถว และนั่งรถกลับที่โรงแรมเขาใหญ่-ลำตะคอง ใช้ระยะเวลารวมประมาณ 3-5 ชั่วโมง
*พิเศษสุด... สำหรับผู้ใช้บริการห้องพักของโรงแรมเขาใหญ่-ลำตะคอง สามารถเลือก Trip ที่ 4 ได้...
4) "Happy Night and Kayaking" บริการห้องพัก 1 คืน พร้อมอาหารเช้าสำหรับ 2 ท่าน สามารถใช้สิทธิ์ Trip ที่ 2 หรือ 3 ในราคาเพียง 3,000 และ 3,150 บาท/2 ท่าน เท่านั้น (ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาของ Trip ที่ 4 หากมีการปรับราคาค่าที่พักโดยโรงแรม)
วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
Eagle camp korat กับทริปพิเศษ
เริ่มขนเรือที่โรงแรมเขาใหญ่ลำตะคอง...พร้อมคร้บ |
ลองลำดับกันดูว่าพายเรือท่าไหนเริ่มก่อน ระหว่างพายไปเรื่อย กับคว่ำเรือขั้นเทพ
ทบทบทวนทักษะการช่วยเหลือให้ทีมผู้นำเรือของเรา สถานการณ์จำลองกรณีลูกค้าตกเรือ ในกิจกรรม THE EAGLECAMP TRAINING MASTER KAYAK ที่เขาใหญ่ 22 กพ 57 ขอบคุณโคราชคายัคคลับเอื้อเฟื้ออุปกรณ์เรือ ขอบคุณภาพถ่าย ความประทับใจจากTHE EAGLECAMP
วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556
Trip พายเรือคายัค เขาใหญ่ ลำตะคอง
ตามคำเรียกร้องของผู้สนใจ
trip พายเรือคายัค
ตอนนี้เราได้จัด Trip ไว้คราวๆดังนี้:
1) "Chill Chill" เรียนรู้วิธีการพาย ..เรือคายัคเบื้องต้น ขึ้นต้นน้ำระยะทางไปกลับไม่เกิน 5.0 ก.ม. อัตราค่าบริการ 200 บาท/คน (นักเรียน นักศึกษาเหลือเพียง 100 บาท) ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
1) "Chill Chill" เรียนรู้วิธีการพาย ..เรือคายัคเบื้องต้น ขึ้นต้นน้ำระยะทางไปกลับไม่เกิน 5.0 ก.ม. อัตราค่าบริการ 200 บาท/คน (นักเรียน นักศึกษาเหลือเพียง 100 บาท) ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
2) "Explorer" สำรวจธรรมชาติ สองฝั่งลำตะคอง ดูนก ไม้น้ำ
และตะกอง (อีกัวน่าเมืองไทย: สัตว์คุ้มครอง ห้ามล่า
และมีไว้ในครอบครอง) ที่มาของชื่อลำน้ำสายนี้ "..ลำตะคอง"
อัตราค่าบริการ 650 บาท/คน ล่องตามน้ำผ่านแก่งเล็กๆ 4-5
แก่ง จากนั้นลำเลียงเรือขึ้นรถสองแถว
และนั่งรถกลับที่โรงแรมเขาใหญ่-ลำตะคอง ใช้ระยะเวลารวมประมาณ 2 ชั่วโมง
3) "Advanture" ชื่นชมความงดงามของธรรมชาติ พืช และสัตว์ ฝึกทักษะการล่องผ่านแก่งระดับ F1 - F3 เป็นระยะทางกว่า 10 ก.ม. ไปยังจุดหมายปลายทางที่ร้านอาหาร ...บ้านไม้ริมน้ำ (หรือร้านอื่นๆ เช่น โมริ ...ริมธารเขาใหญ่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้) อัตราค่าบริการ 750 บาท/คน พักรับประทานอาหารกลางวัน (ไม่รวมใน package) ถ่ายรูปคู่กับของสะสม Collection พิเศษต่างๆภายในร้าน จากนั้นลำเลียงเรือขึ้นรถสองแถว และนั่งรถกลับที่โรงแรมเขาใหญ่-ลำตะคอง ใช้ระยะเวลารวมประมาณ 3-5 ชั่วโมง
*พิเศษสุด... สำหรับผู้ใช้บริการห้องพักของโรงแรมเขาใหญ่-ลำตะคอง สามารถเลือก Trip ที่ 4 ได้..
.
4) "Happy Night and Kayaking" บริการห้องพัก 1 คืน พร้อมอาหารเช้าสำหรับ 2 ท่าน สามารถใช้สิทธิ์ Trip ที่ 2 หรือ 3 ในราคาเพียง 3,000 และ 3,150 บาท/2 ท่าน เท่านั้น (ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาของ Trip ที่ 4 หากมีการปรับราคาค่าที่พักโดยโรงแรม)
หมายเหตุ: หากสนใจจัดเป็นกิจกรรมกลุ่มสำหรับนัก เรียน นักศึกษา
หรือร่วมกลุ่มผู้สนใจตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป กรุณาติดต่อที่
seramethakun@hotmail.com หรือ +668 1487 4676, 0898877 321 คุณอู๋ สามารถขอราคาเป็นกรณีพิเศษได้ ...
***รายละเอียดการโอนเงิน บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ เลขที่ 047-0-21157-4 นายปิติ เสรเมธากุล หลังโอนเสร็จสิ้น กรุณาส่งข้อความถึง Piti Seramethakun หรือ e-mail: seramethakun@hotmail.com แจ้งจำนวนเงิน และเวลาที่ทำการโอนเพื่อใช้สำหรับอ้างอิงต่อไป :-D
***รายละเอียดการโอนเงิน บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ เลขที่ 047-0-21157-4 นายปิติ เสรเมธากุล หลังโอนเสร็จสิ้น กรุณาส่งข้อความถึง Piti Seramethakun หรือ e-mail: seramethakun@hotmail.com แจ้งจำนวนเงิน และเวลาที่ทำการโอนเพื่อใช้สำหรับอ้างอิงต่อไป :-D
ป้ายกำกับ:
เขาใหญ่,
คายัค,
ตะกอง,
มือใหม่พายเรือ,
ลำตะคอง,
Advanture,
Explorer,
Kayak,
Kayaking,
Trip
ตะกอง หรือ ลั้ง[1] หรือ กิ้งก่ายักษ์ (อังกฤษ: Chinese water dragon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Physignathus cocincinus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างทั่วไปคล้ายอีกัวน่าที่พบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 90-120 เซนติเมตร (ปลายจมูกถึงโคนหาง 35-50 เซนติเมตร และหางยาว 55-70 เซนติเมตร) โดยตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ราว 10-30 เซนติเมตร และจะมีหัวป้อมกว่า สีของลำตัวเข้มกว่า หางมีแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ สีลำตัวปกติของตะกองจะมีสีเขียวเข้มและสามารถที่จะเปลี่ยนสีของให้เข้มขึ้นหรืออ่อนลงตามสภาพแวดล้อมได้ ในขณะที่เป็นวัยอ่อนบางตัวใต้คางและส่วนหัวจะมีสีม่วงหรือสีฟ้าแลดูสวยงาม และเมื่อโตขึ้นมาตัวผู้ส่วนหัวด้านบนจะโหนกนูนขึ้นเห็นชัดเจน ส่วนตัวผู้เมียจะมีความนูนน้อยกว่า
ตะกอง มีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบในตอนใต้ของประเทศจีน, ประเทศลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และภาคตะวันออกและอีสานของประเทศไทย ชอบที่จะอาศัยหากินอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่า ที่ค่อนข้างทึบ เช่น บริเวณริมห้วยที่มีน้ำไหล มีพฤติกรรมชอบนอนผึ่งแดดตามคาคบไม้ริมห้วยลำธาร เมื่อตกใจจะวิ่ง 2 ขาได้โดยหุบขาหน้าไว้แนบชิดลำตัว และโดยปกติเมื่อมีภัยจะกระโจนลงน้ำ และสามารถดำน้ำได้เป็นเวลานาน อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ, กบ, เขียด, ปลาขนาดเล็ก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก และผลไม้บาง ชนิด และยังสามารถดำน้ำจับปลาได้อีกด้วย ในที่สถานที่เลี้ยงพบว่ามีอายุถึง 30 ปี ตะกองจะมีฤดูกาลผสมพันธุ์และวางไข่ในระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และในหนึ่งครั้งตะกองตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 10 ฟอง ตะกองจะวางไข่ บริเวณพื้นดินที่มีลักษณะเป็นดินทรายและจะขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 12-17 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 12-15 เซนติเมตร
ตะกอง ยังเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน แต่ว่าเมื่อเทียบกับอีกัวน่าแล้ว ตะกองเลี้ยงได้ยากกว่าพอสมควรเนื่องจากกินแมลงเป็นอาหารและยังมีนิสัยที่ดุ ไม่เชื่องเหมือนอีกัวน่า อีกทั้งยังต้องปรับสภาพของที่เลี้ยงให้มีน้ำและมีความชุ่มชื้นพอสมควร
สถานภาพของตะกองในปัจจุบัน พบน้อยลงมากเนื่องจากถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยง จับเพื่อทำเป็นอาหาร และแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ได้จัดให้ตะกองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[1]
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 90-120 เซนติเมตร (ปลายจมูกถึงโคนหาง 35-50 เซนติเมตร และหางยาว 55-70 เซนติเมตร) โดยตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ราว 10-30 เซนติเมตร และจะมีหัวป้อมกว่า สีของลำตัวเข้มกว่า หางมีแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ สีลำตัวปกติของตะกองจะมีสีเขียวเข้มและสามารถที่จะเปลี่ยนสีของให้เข้มขึ้นหรืออ่อนลงตามสภาพแวดล้อมได้ ในขณะที่เป็นวัยอ่อนบางตัวใต้คางและส่วนหัวจะมีสีม่วงหรือสีฟ้าแลดูสวยงาม และเมื่อโตขึ้นมาตัวผู้ส่วนหัวด้านบนจะโหนกนูนขึ้นเห็นชัดเจน ส่วนตัวผู้เมียจะมีความนูนน้อยกว่า
ตะกอง มีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบในตอนใต้ของประเทศจีน, ประเทศลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และภาคตะวันออกและอีสานของประเทศไทย ชอบที่จะอาศัยหากินอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่า ที่ค่อนข้างทึบ เช่น บริเวณริมห้วยที่มีน้ำไหล มีพฤติกรรมชอบนอนผึ่งแดดตามคาคบไม้ริมห้วยลำธาร เมื่อตกใจจะวิ่ง 2 ขาได้โดยหุบขาหน้าไว้แนบชิดลำตัว และโดยปกติเมื่อมีภัยจะกระโจนลงน้ำ และสามารถดำน้ำได้เป็นเวลานาน อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ, กบ, เขียด, ปลาขนาดเล็ก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก และผลไม้บาง ชนิด และยังสามารถดำน้ำจับปลาได้อีกด้วย ในที่สถานที่เลี้ยงพบว่ามีอายุถึง 30 ปี ตะกองจะมีฤดูกาลผสมพันธุ์และวางไข่ในระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และในหนึ่งครั้งตะกองตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 10 ฟอง ตะกองจะวางไข่ บริเวณพื้นดินที่มีลักษณะเป็นดินทรายและจะขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 12-17 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 12-15 เซนติเมตร
ตะกอง ยังเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน แต่ว่าเมื่อเทียบกับอีกัวน่าแล้ว ตะกองเลี้ยงได้ยากกว่าพอสมควรเนื่องจากกินแมลงเป็นอาหารและยังมีนิสัยที่ดุ ไม่เชื่องเหมือนอีกัวน่า อีกทั้งยังต้องปรับสภาพของที่เลี้ยงให้มีน้ำและมีความชุ่มชื้นพอสมควร
สถานภาพของตะกองในปัจจุบัน พบน้อยลงมากเนื่องจากถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยง จับเพื่อทำเป็นอาหาร และแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ได้จัดให้ตะกองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[1]
รายการสถานีสีเขียว ตอน สำนึกรักษ์เขาใหญ่ลำตะคอง
รายการสถานีสีเขียว ตอน สำนึกรักษ์เขาใหญ่ลำตะคอง
ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556
เวลา 13.30 - 13.55 น. ทางไทยพีบีเอส
เมื่อพูดถึงเขาใหญ่เชื่อว่าทุกๆ
ท่านก็คงจะทราบกันดีว่าเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ เป็นมรดกโลก
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สมบูรณ์และอยู่ใกล้กับกรุงเทพฯ มากที่สุด
แต่ทุกวันนี้เขาใหญ่กำลังประสบกับปัญหารุมเร้าคุกคามรอบด้าน
ทั้งการบุกรุกทำกิน การทำลายป่า อีกทั้งการตัดถนนหนทาง
ที่พักรีสอร์ทและอื่นๆอีกมากมาย
ซึ่งทางรายการได้เคยนำเสนอไปแล้วบ้างในบางส่วน
แต่ด้วยความกว้างใหญ่ของเขาใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด
วันนี้เราจึงขอมุ่งประเด็นกันไปที่ “ลำตะคอง”
ซึ่งเป็นลำน้ำที่มีความสำคัญเป็นแหล่งน้ำหลักของเขื่อนลำตะคอง
เป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของ
ชาวบ้านในพื้นที่ และที่สำคัญที่นี่ยังเป็นที่อาศัยของตัว “ตะกอง” หรือตัว
ตะคอง” อันเป็นที่มาของชื่อ “ลำตะคอง”ในปัจจุบัน
มาดูกันว่าวันนี้ลำตะคองกำลังประสบกับปัญหาอะไรบ้างแล้วเจ้าตัว “ตะกอง”
ที่ว่านี้หน้าตาเป็นยังไงยังมีเหลืออยู่มากน้อยแค่ไหน
ขอบคุณที่มา : thaipbs.or.th, ladyHugsy Hugme
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)