วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

Trip พายเรือคายัค เขาใหญ่ ลำตะคอง



ตามคำเรียกร้องของผู้สนใจ trip พายเรือคายัค ตอนนี้เราได้จัด Trip ไว้คราวๆดังนี้:

1) "Chill Chill" เรียนรู้วิธีการพาย ..เรือคายัคเบื้องต้น ขึ้นต้นน้ำระยะทางไปกลับไม่เกิน 5.0 ก.ม. อัตราค่าบริการ 200 บาท/คน (นักเรียน นักศึกษาเหลือเพียง 100 บาท) ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง


2) "Explorer" สำรวจธรรมชาติ สองฝั่งลำตะคอง ดูนก ไม้น้ำ และตะกอง (อีกัวน่าเมืองไทย: สัตว์คุ้มครอง ห้ามล่า และมีไว้ในครอบครอง) ที่มาของชื่อลำน้ำสายนี้ "..ลำตะคอง" อัตราค่าบริการ 650 บาท/คน ล่องตามน้ำผ่านแก่งเล็กๆ 4-5 แก่ง จากนั้นลำเลียงเรือขึ้นรถสองแถว และนั่งรถกลับที่โรงแรมเขาใหญ่-ลำตะคอง ใช้ระยะเวลารวมประมาณ 2 ชั่วโมง

3) "Advanture" ชื่นชมความงดงามของธรรมชาติ พืช และสัตว์ ฝึกทักษะการล่องผ่านแก่งระดับ F1 - F3 เป็นระยะทางกว่า 10 ก.ม. ไปยังจุดหมายปลายทางที่ร้านอาหาร ...บ้านไม้ริมน้ำ (หรือร้านอื่นๆ เช่น โมริ ...ริมธารเขาใหญ่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้) อัตราค่าบริการ 750 บาท/คน พักรับประทานอาหารกลางวัน (ไม่รวมใน package) ถ่ายรูปคู่กับของสะสม Collection พิเศษต่างๆภายในร้าน จากนั้นลำเลียงเรือขึ้นรถสองแถว และนั่งรถกลับที่โรงแรมเขาใหญ่-ลำตะคอง ใช้ระยะเวลารวมประมาณ 3-5 ชั่วโมง

*พิเศษสุด... สำหรับผู้ใช้บริการห้องพักของโรงแรมเขาใหญ่-ลำตะคอง สามารถเลือก Trip ที่ 4 ได้..
.

4) "Happy Night and Kayaking" บริการห้องพัก 1 คืน พร้อมอาหารเช้าสำหรับ 2 ท่าน สามารถใช้สิทธิ์ Trip ที่ 2 หรือ 3 ในราคาเพียง 3,000 และ 3,150 บาท/2 ท่าน เท่านั้น (ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาของ Trip ที่ 4 หากมีการปรับราคาค่าที่พักโดยโรงแรม)


 

หมายเหตุ: หากสนใจจัดเป็นกิจกรรมกลุ่มสำหรับนัก เรียน นักศึกษา หรือร่วมกลุ่มผู้สนใจตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป กรุณาติดต่อที่ seramethakun@hotmail.com หรือ +668 1487 4676, 0898877 321  คุณอู๋  สามารถขอราคาเป็นกรณีพิเศษได้ ...

***รายละเอียดการโอนเงิน บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ เลขที่ 047-0-21157-4 นายปิติ เสรเมธากุล หลังโอนเสร็จสิ้น กรุณาส่งข้อความถึง Piti Seramethakun หรือ e-mail: seramethakun@hotmail.com แจ้งจำนวนเงิน และเวลาที่ทำการโอนเพื่อใช้สำหรับอ้างอิงต่อไป :-D
ตะกอง หรือ ลั้ง[1] หรือ กิ้งก่ายักษ์ (อังกฤษ: Chinese water dragon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Physignathus cocincinus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างทั่วไปคล้ายอีกัวน่าที่พบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 90-120 เซนติเมตร (ปลายจมูกถึงโคนหาง 35-50 เซนติเมตร และหางยาว 55-70 เซนติเมตร) โดยตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ราว 10-30 เซนติเมตร และจะมีหัวป้อมกว่า สีของลำตัวเข้มกว่า หางมีแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ สีลำตัวปกติของตะกองจะมีสีเขียวเข้มและสามารถที่จะเปลี่ยนสีของให้เข้มขึ้นหรืออ่อนลงตามสภาพแวดล้อมได้ ในขณะที่เป็นวัยอ่อนบางตัวใต้คางและส่วนหัวจะมีสีม่วงหรือสีฟ้าแลดูสวยงาม และเมื่อโตขึ้นมาตัวผู้ส่วนหัวด้านบนจะโหนกนูนขึ้นเห็นชัดเจน ส่วนตัวผู้เมียจะมีความนูนน้อยกว่า
ตะกอง มีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบในตอนใต้ของประเทศจีน, ประเทศลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และภาคตะวันออกและอีสานของประเทศไทย ชอบที่จะอาศัยหากินอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่า ที่ค่อนข้างทึบ เช่น บริเวณริมห้วยที่มีน้ำไหล มีพฤติกรรมชอบนอนผึ่งแดดตามคาคบไม้ริมห้วยลำธาร เมื่อตกใจจะวิ่ง 2 ขาได้โดยหุบขาหน้าไว้แนบชิดลำตัว และโดยปกติเมื่อมีภัยจะกระโจนลงน้ำ และสามารถดำน้ำได้เป็นเวลานาน อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ, กบ, เขียด, ปลาขนาดเล็ก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก และผลไม้บาง ชนิด และยังสามารถดำน้ำจับปลาได้อีกด้วย ในที่สถานที่เลี้ยงพบว่ามีอายุถึง 30 ปี ตะกองจะมีฤดูกาลผสมพันธุ์และวางไข่ในระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และในหนึ่งครั้งตะกองตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 10 ฟอง ตะกองจะวางไข่ บริเวณพื้นดินที่มีลักษณะเป็นดินทรายและจะขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 12-17 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 12-15 เซนติเมตร
ตะกอง ยังเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน แต่ว่าเมื่อเทียบกับอีกัวน่าแล้ว ตะกองเลี้ยงได้ยากกว่าพอสมควรเนื่องจากกินแมลงเป็นอาหารและยังมีนิสัยที่ดุ ไม่เชื่องเหมือนอีกัวน่า อีกทั้งยังต้องปรับสภาพของที่เลี้ยงให้มีน้ำและมีความชุ่มชื้นพอสมควร
สถานภาพของตะกองในปัจจุบัน พบน้อยลงมากเนื่องจากถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยง จับเพื่อทำเป็นอาหาร และแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ได้จัดให้ตะกองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[1]

รายการสถานีสีเขียว ตอน สำนึกรักษ์เขาใหญ่ลำตะคอง

รายการสถานีสีเขียว ตอน สำนึกรักษ์เขาใหญ่ลำตะคอง
ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556
เวลา 13.30 - 13.55 น. ทางไทยพีบีเอส

 เมื่อพูดถึงเขาใหญ่เชื่อว่าทุกๆ ท่านก็คงจะทราบกันดีว่าเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ เป็นมรดกโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สมบูรณ์และอยู่ใกล้กับกรุงเทพฯ มากที่สุด แต่ทุกวันนี้เขาใหญ่กำลังประสบกับปัญหารุมเร้าคุกคามรอบด้าน ทั้งการบุกรุกทำกิน การทำลายป่า อีกทั้งการตัดถนนหนทาง ที่พักรีสอร์ทและอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งทางรายการได้เคยนำเสนอไปแล้วบ้างในบางส่วน แต่ด้วยความกว้างใหญ่ของเขาใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด วันนี้เราจึงขอมุ่งประเด็นกันไปที่ “ลำตะคอง” ซึ่งเป็นลำน้ำที่มีความสำคัญเป็นแหล่งน้ำหลักของเขื่อนลำตะคอง เป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของ ชาวบ้านในพื้นที่ และที่สำคัญที่นี่ยังเป็นที่อาศัยของตัว “ตะกอง” หรือตัว ตะคอง” อันเป็นที่มาของชื่อ “ลำตะคอง”ในปัจจุบัน มาดูกันว่าวันนี้ลำตะคองกำลังประสบกับปัญหาอะไรบ้างแล้วเจ้าตัว “ตะกอง” ที่ว่านี้หน้าตาเป็นยังไงยังมีเหลืออยู่มากน้อยแค่ไหน

 ขอบคุณที่มา : thaipbs.or.th, ladyHugsy Hugme